เกี่ยวกับเรา

โลโก้บริษัท

เกี่ยวกับเรา

บริษัท สมาร์ท 2021 จำกัด เป็นบริษัทที่ให้บริการด้านการปรึกษา การออกแบบ การผลิตและติดตั้ง และการแก้ไขปรับปรุงโครงสร้างพื้น Post-Tension ทั้งระบบ Bonded และ Unbonded
โดยมีวิศวกรและทีมงานติดตั้งที่มีประสบการณ์ยาวนานมากกว่า 20 ปี และ มีความรู้ความเชี่ยวชาญในงาน Post-Tension
บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ และวิธีการทำงาน เพื่อตอบสนองความต้องการทั้งในด้านต้นทุน ความแข็งแรง และการทำงานที่สะดวกรวดเร็ว เพื่อให้ได้โครงสร้างพื้น Post-Tension ที่ใช้ประโยชน์ของงานอัดแรงในทุกด้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Proud to Present

รูปภาพตัวอย่างเซ็นทรัลนครปฐม

เซ็นทรัลนครปฐม

รายละเอียดโครงการ :
โครงการเซ็นทรัลนครปฐมมีพื้นที่กว้างขวางถึง 100,000 ตารางเมตร เป็นศูนย์การค้าแห่งใหม่ที่คาดว่าจะกลายเป็นจุดเด่นและแลนด์มาร์คสำคัญของจังหวัดนครปฐม สถานที่นี้จะนำความสะดวกสบาย ความทันสมัย และสไตล์ใหม่ๆ มาสู่พื้นที่
บริษัทผู้รับเหมาหลัก : บริษัท แสตนดาร์ดเพอร์ฟอแม้นซ์ จำกัด เป็นบริษัทผู้รับเหมาหลักของโครงการนี้ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญและมุ่งมั่นในการก่อสร้างและบริหารโครงการอย่างยอดเยี่ยม
บทบาทของเรา : บริษัท สมาร์ท2021 จำกัด มีความภาคภูมิใจที่ได้รับความไว้วางใจให้มีบทบาทสำคัญในโครงการนี้ โดยเราได้รับมอบหมายให้ออกแบบ ทำ shop drawing ผลิต และติดตั้งระบบพื้น post-tension ซึ่งเป็นหน้าที่ที่ท้าทายและเป็นโอกาสในการแสดงศักยภาพและความมุ่งมั่นในคุณภาพของเรา

Kave Island

รายละเอียดโครงการ :
โครงการ Kave Island เป็นโครงการคอนโดมิเนียมที่ประกอบด้วยอาคาร 8 ชั้น จำนวน 8 อาคาร ครอบคลุมพื้นที่รวมทั้งสิ้น 50,000 ตารางเมตร
บริษัทผู้รับเหมาหลัก : บริษัท วิศวภัทร์ จำกัด รับหน้าที่เป็นผู้รับเหมาหลักในการก่อสร้างโครงการนี้ ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในงานก่อสร้างที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง
บริษัทผู้พัฒนาโครงการ : บริษัท แอสเซ็ตไวส์ มหาชน จำกัด เป็นผู้พัฒนาโครงการ ซึ่งมีความมุ่งมั่นในการสร้างที่อยู่อาศัยคุณภาพสูง พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัย
บทบาทของเรา : บริษัท สมาร์ท2021 จำกัด มีภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่มีคุณภาพและมาตรฐานสูงนี้ ความร่วมมือของเรากับบริษัท วิศวภัทร์ และบริษัท แอสเซ็ตไวส์ สะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์สิ่งดีๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้พักอาศัย

รูปภาพตัวอย่าง Kave Island
รูปภาพตัวอย่าง Modiz Ryhme Hill รามคำแหง

Modiz Rhyme Hill รามคำแหง

รายละเอียดโครงการ :

“เป็นส่วนหนึ่งของทีมคุณ มุ่งมั่นด้วยมืออาชีพด้าน Post-Tension เพื่อโครงสร้างที่มั่นคง คุ้มค่า ตามมาตรฐานวิศวกรรม”

ทำความรู้จักกับ Post-Tension

ข้อมูลทั่วไป

รูปตัวอย่าง 3D พื้น Post-Tension

พื้น Post-Tension เป็นแผ่นพื้นไร้คานที่รับน้ำหนักบรรทุกโดยใช้หลักการคอนกรีตอัดแรงประโยชน์ที่ได้จากการอัดแรงให้โครงสร้าง ทำให้โครงสร้างโดยรวมใช้คอนกรีตน้อยลง และการแอ่นตัวของโครงสร้างน้อยกว่าเมื่อเทียบกับพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีขนาดเท่ากัน
ระบบพื้นคอนกรีตอัดแรง (Post-Tension Slab) เป็นระบบที่นำเอาข้อดีของวัสดุ คอนกรีต และ ลวดแรงดึงสูง มาใช้ร่วมกันจึงทำให้ได้โครงสร้างอาคารที่มีการใช้วัสดุให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด นำมาซึ่งความประหยัดและประโยชน์หลายด้าน เช่น การลดความสูงอาคาร การลดน้ำหนักอาคาร รับน้ำหนักบรรทุกได้มาก ออกแบบให้มีช่วงห่างระหว่างเสามากๆได้ การทำงานที่ง่ายและรวดเร็ว ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็ว ระบบพื้น Post-Tension ในประเทศไทยใช้ระบบ Bonded ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายหลังได้ภายใต้การดูแลของวิศวกรโครงสร้าง

วัสดุที่เป็นองค์ประกอบหลักในการรับแรงที่ใช้ใน พื้น Post-Tension ระบบ Bonded ประกอบด้วย
1. คอนกรีต (Concrete)
คอนกรีตกำลังอัดไม่น้อยกว่า 320 ksc. cylinder(380 ksc. cube) ที่ 28 วัน
2. เหล็กเสริม (Mild Steel Rebar)
- เหล็กเสริมกลม ตามมาตรฐาน มอก. 20-2543 ชั้นคุณภาพ SR24
- เหล็กเสริมข้ออ้อย ตามมาตรฐาน มอก. 24-2548 ชั้นคุณภาพ SD40
3. ลวดเหล็ก 7 เส้น พันเกลียวแรงดึงสูง (PC Strand)
ลวดเหล็กแรงดึงสูง ตามมาตรฐาน มอก. 420 และ ASTM. A416 ชนิด 7 Wire Strand Grade 1860 [270K] ชนิด Low Relaxation

รูปตัวอย่างลวด
Strand Properties 7-Wire Strand Low Relaxation
Standard Grade or Nominal Tensile Strength(kN/mm.2) Nominal Diameter (mm.) Nominal Area (mm.2) Nominal Weight (kg./1,000m.) Minimum Breaking Strength (KN.) Relaxation 1,000 hrs. (%)
TIS 420 1860

12.7

15.2

98.7

139

774

1101

184

259

2.5*

2.5*

ASTM A416 1860
[270ksi]

12.7

15.2

98.7

140

775

1102

183.7

260.7

2.5*

2.5*

Note : * Initial force of 70% of minimum breaking strength, Modulus of Elasticity = 1.98x105 kN/mm.2 (1.98x106)

วัสดุที่ทำให้เกิดแรงยึดเหนี่ยวระหว่างคอนกรีตและลวดเหล็กแรงดึงสูง
1. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ Type I (Cement Portland Type I)
2. สารเคมีผสมซีเมนต์ Vitacrete G3
ใช้สำหรับการเกราท์ในท่อระบบพื้น Post-Tension ซึ่งมีคุณสมบัติ เพิ่ม Fluidity และ Cohesion ลด Breeding และ Shrinkage

อุปกรณ์ในระบบ SMART Post-Tension
1. สมอยึดลวด (Anchorage (SMART Anchorage))
ชนิด Single Anchor ทำจากเหล็กหล่อชนิดเหนียวพิเศษ เพื่อใช้ยึดจับลวดและถ่ายแรงจากแรงหดตัวของลวดแรงดึงสูงเข้าสู่คอนกรีต ได้ตามมาตรฐานของ ACI 318 และ Post-Tension Institute [PTI] โดยมีขนาดสำหรับใช้กับลวดกลุ่มตั้งแต่ 2-5 เส้น
ในกรณีที่ความยาวลวดอัดแรงมีความยาวมากกว่า 30 เมตร จะใช้สมอยึดลวดทั้งสองปลายของลวดเรียกว่าด้าน Live End และทำการดึงทั้งสองด้าน
ในกรณีที่ความยาวลวดอัดแรงมีความยาวน้อยกว่า 30 เมตร จะใช้สมอยึดลวดด้านเดียว และอีกด้านหนึ่งเป็นการขยุ้มปลายลวดและจัดให้ห่างกันด้วยแผ่นเหล็ก (Spacer Plate) ทำให้คอนกรีตมีพื้นที่ในการยึดจับลวดอัดแรงได้อย่างเต็มที่ เพื่อถ่ายแรงยึดเหนี่ยวระหว่างลวดกับคอนกรีตตามมาตรฐานที่กำหนด เรียกการขยุ้มปลายลวดแบบนี้ว่า Onion Dead End และเรียกปลายด้านนี้ว่า Dead End

รูปตัวอย่าง Anchorage
SMART Anchorage "SM" Series for Bonded Tendon
Type No. of Strand Strand Diameter A B C D E F G
2SM13 2 12.7 65 160 55 66 30 190 90
3SM13 3 12.7 75 180 66 96 30 210 90
5SM13 5 12.7 80 240 75 166 30 270 100
รูปตัวอย่าง Tendon
Dead End Anchorage "DS" Series for Bonded Tendon
Type No. of Strand Strand Diameter A B C D
2DS13 2 12.7 80 800 80 80
3DS13 3 12.7 80 800 80 160
5DS13 5 12.7 80 800 80 320

2. ท่อโลหะหุ้มลวดอัดแรง (Duct Sheath)
Duct Sheath ใช้ป้องกันไม่ให้คอนกรีตแทรกตัวเข้าไปจับลวดที่อยู่ในท่อหุ้มลวดก่อนการดึงลวด ผลิตจากแผ่นเหล็กชุบสังกะสี (Galvanized steel strip) มีคุณสมบัติ ไม่เป็นสนิม และไม่ทำปฏิกิริยากับคอนกรีตและลวดอัดแรง (Strand) นอกจากนี้ยังสามารถวางโค้งดัดงอได้ตามแบบ Shop Drawing
โดยทั่วไปมีความยาวท่อนละ 20 เมตร และ กรณีที่ต้องต่อความยาว ต่อเข้าด้วยกันโดยใช้ข้อต่อ (Coupler) ซึ่งเป็นแผ่นเหล็กชุบสังกะสีความยาว 0.15 เมตร

รูปตัวอย่าง Corrugated Sheath

3. Supporting Chair
ใช้สำหรับรองรับท่อ Sheath และลวดอัดแรง (Strand) ให้ได้ตำแหน่งตามแบบ Shop Drawing

- พื้นและคานที่มีความลึกไม่เกิน 0.60 เมตร ใช้ Supporting Chair ทำจาก PC Wire
- คานที่มีความลึกมากกว่า 0.60 เมตร ใช้เหล็ก Mild Steel เชื่อมติดกับเหล็กปลอกของคานหรือใช้ Supporting Chair ทำจาก PC Wire

รูปภาพ Supporting Chair Elevation
รูปภาพ Supporting Chair Plan

เครื่องมือ
1. ชุดเครื่องมือดึงลวด (Stressing Mono)
ประกอบด้วยระบบส่งกำลังด้วยน้ำมันไฮดรอลิค Hydraulic Pump และ ระบบจับดึงลวด (Stressing Jack) และจะต้อง Calibrate เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างแรงดึงและแรงดันของน้ำมัน จากสถาบันที่เชื่อถือได้ทุก ๆ 6 เดือน

รูปตัวอย่างชุดเครื่องมือดึงลวด

- Hydraulic Pump ของ Power Team

รูปตัวอย่าง Hydraulic Pump
รูปตัวอย่าง PSI

- Mono Stressing Jack

รูปตัวอย่าง Mono Stressing Jack
Jack Detail
Max Capacity 20 Ton. Stroke 20 cm.
Max Pressure 350 kg./cm.2 Weight 42 kg.
Piston Area 63 cm.2 Strand Projection 40 cm.

2.เครื่องผสมน้ำปูน และปั๊ม สำหรับอัดน้ำปูน (Grouting Equipment) ชนิด MIX-1

รูปตัวอย่าง Grouting Equipment ชนิด MIX-1
Grouting Machine Properties
Tank Capacity 100 Litre
Flow Rate 40 Litre/min. at 0 bar.
25 Litre/min. at 9 bar.
Required Electric Power 6 kw. [380 V. 3-phase]
ขั้นตอนการก่อสร้าง
ขั้นตอนการก่อสร้างและผู้รับผิดชอบในการก่อสร้างพื้น Post-Tension
รายละเอียดของงาน SMART Post Client
1. ติดตั้งค้ำยัน, แบบหล่อ, แบบข้างของพื้น Post-Tensioned
2. วางเหล็กเสริมล่าง ตะแกรงล่าง, Progressive bar อื่น ๆ
3. ติดตั้ง Recess Former, Anchorage
4. วางลวดอัดแรง และ ใส่ท่อ Grout vent สำหรับใช้ในการอัดน้ำปูน
5. วางเหล็กเสริมบน
6. พ่นสีแนวลวด (ถ้ามี)
7. เทคอนกรีต
8. แกะ Recess Former
9. บ่มคอนกรีต และ ถอดแบบข้าง
10. ดึงลวดอัดแรง เมื่อคอนกรีตมีกำลังอัดไม่น้อยกว่า 240 ksc.(Cylinder)
11. ตัดปลายลวดหลังจากได้รับอนุมัติจากวิศวกรผู้ควบคุมงาน
12. อุดปิดเบ้า Recess บริเวณ Anchorage ด้วยปูนทราย
13. ถอดแบบหล่อพื้น และทำการค้ำยันกลับ (Shoring)
14. การอัดน้ำปูน
หมายเหตุ : งานอัดน้ำปูน จะดำเนินงานเมื่อบริเวณหน้างานไม่มีนั่งร้าน, ค้ำยัน หรือวัสดุอื่นๆกีดขวาง
รูปแสดงขั้นตอนการก่อสร้าง
รูปแสดงขั้นตอนการก่อสร้างที่ 1

1. ติดตั้งค้ำยัน แบบหล่อ แบบข้างของพื้น Post-tension โดยตั้งไม้แบบยื่นจากขอบพื้น 80 cm.
2. วางเหล็กเสริมล่าง

รูปแสดงขั้นตอนการก่อสร้างที่ 2

3. ติดตั้ง Recess, Former, Anchorage
4. วางลวดอัดแรง และใส่ท่อ Grout Vent สำหรับใช้ในการอัดน้ำปูน

รูปแสดงขั้นตอนการก่อสร้างที่ 3

5. วางเหล็กเสริมบน

รูปแสดงขั้นตอนการก่อสร้างที่ 4

6. เทคอนกรีต
7. บ่มคอนกรีต, ถอดแบบข้าง และแกะ Recess Former

รูปแสดงขั้นตอนการก่อสร้างที่ 5

8. ดึงลวดอัดแรง เมื่อคอนกรีตมีกำลังอัดไม่ต่ำกว่า 240 ksc. [Cylinder]
9. ตัดปลายลวดหลังจากได้รับอนุญาตจากวิศวกรผู้ควบคุมงาน
10. อุดปิดเบ้า Recess บริเวณ Anchorage ด้วยปูนทราย

รูปแสดงขั้นตอนการก่อสร้างที่ 6

11. ถอดแบบหล่อพื้น และทำการค้ำยันกลับ [Shoring]
12. อัดน้ำปูนหลังจากรื้อนั่งร้านทั้งหมด

การดึงลวดอัดแรง (Stressing Method)

การดึงลวดอัดแรงเป็นขั้นตอนสำคัญ ในระบบพื้นคอนกรีตอัดแรง โดยจะดึงลวดอัดแรงเมื่อคอนกรีตได้รับกำลังได้ไม่น้อยกว่า 240 ksc. cylinder และจะต้องทำการตรวจสอบการทำงานเพื่อให้แน่ใจได้ว่า แรงอัดที่เกิดจากการดึงลวด ไม่น้อยกว่าค่าแรงอัดที่ใช้ในการออกแบบ วิธีที่ใช้ในการตรวจสอบแรงคือวิธีการวัดค่าระยะยืดของลวดอัดแรงขณะดึงลวดเทียบกับค่าระยะยืดที่ได้คำนวณไว้ทางทฤษฎี โดยมีค่าผิดพลาดที่ยอมให้สำหรับงานคอนกรีตอัดแรง ในระบบ Post-Tension เท่ากับ +-7%
การคำนวณค่าระยะยืดทางทฤษฎี (Theoretical Elongation)
ค่าระยะยืด (Elongation) ปัจจัยที่มีผลต่อค่าระยะยืดคือ แรงดึง, ความยาวของลวด, การโค้งของลวด
สูตรในการคำนวณหาค่าระยะยืด (Elongation Formula)

Elongation = P2 [e (m0 + KL) - 1] L/[ESApS(m0 + KL)] : P2 = P1e-(m0 + KL)

โดยใช้ค่า Parameter ดังนี้

- แรงดึงลวดต่อเส้น (P0) = 14.2 tons
- โมดูลัสยืดหยุ่น (Elastic Modulus) = 1.98x106 ksc.
- สัมประสิทธิ์ของแรงเสียดทาน (m) = 0.17 radian-1
- สัมประสิทธิ์ของความเบี่ยงเบนของท่อหุ้มลวด (K) = 0.0016 m.-1

ลำดับในการดึงลวดอัดแรง (Stressing Sequence)
1. ดึงลวดอัดแรงในทิศทางของแนวแถบหลัก (Band) จำนวน 50% ของกลุ่มลวดในแถบนั้นๆทุกแถบ
2. ดึงลวดอัดแรงในทิศทางของแนวกระจาย (Uniform) ทั้งหมดโดยควรดึงกลุ่มที่อยู่ข้างเสาก่อน
3. ดึงลวดอัดแรงในทิศทางของแนวแถบหลัก (Band) ในส่วนที่เหลือทั้งหมด
4. ดึงลวดอัดแรงในกลุ่มที่เป็น Extra ทั้งหมด

หมายเหตุ : กรณีที่โครงสร้างมีความซับซ้อนลำดับในการดึงลวดอัดแรงอาจถูกปรับเพื่อความเหมาะสม โดยวิศวกรผู้ออกแบบ


รูปตัวอย่างแสดงแนวลวด

การเตรียมการดึงลวด

1. ตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือดึงลวด
2. ส่งใบสอบเทียบเครื่องมือที่จะนำมาใช้พร้อมเอกสารค่า Elongation ตามทฤษฎี (Stressing Sequence) เพื่อแจ้งขอเข้าทำการดึงลวด กับผู้ควบคุมงาน
3. ตรวจสอบลำดับการดึงลวดและค่าดึงลวดกับแบบแปลน


ขั้นตอนการดึงลวดอัดแรง
1. ถอดแบบกั้นหัวสมอยึดลวดอัดแรงออกทำความสะอาดลวด และช่องเปิดไม่ให้มีเศษปูนจับลวดอัดแรงก่อนทำการดึงลวด
2. เมื่อทำความสะอาดเรียบร้อยแล้วใส่สมอยึดลวดและลิ่มจับลวด ตอกลิ่มให้แน่น
3. ติดตั้งเครื่องดึงลวดให้เรียบร้อย
4. ก่อนทำการดึงต้องแน่ใจว่าไม่มีผู้ใดอยู่ตรงกับหัวสมอยึดลวดทั้งสองด้าน
5. ทำการดึงลวดตามแรงที่กำหนดพร้อมกับวัดค่าระยะยืด เพื่อตรวจทานแรงดึง
6.เมื่อดึงลวดได้แรงและค่าระยะยืดถูกต้องตามที่กำหนดแล้วให้ตอกลิ่มและคลายแรงดึงจนหมด ลวดจะหดกลับเข้าไปและลิ่มจะเลื่อนตัวมาจับลวดในเวลาพร้อมกัน
7. บันทึกค่าการดึงลวดทุกขั้นตอนลงในแบบฟอร์ม การดึงลวดสำหรับงานพื้น (Stressing Report)
8. หลังจากดึงลวดครบแล้วแจ้งผู้ควบคุมงานเพื่อขออนุมัติตัดหางลวด
รูปแสดงขั้นตอนการดึงลวดอัดแรง
รูปแสดงขั้นตอนการดึงลวดอัดแรงที่ 1

1. นำ Hydraulic Jack จับหางลวด

รูปแสดงขั้นตอนการดึงลวดอัดแรงที่ 2

2. เพิ่มแรงดึงลวดไปที่ 37.9% ของ Fpu เท่ากับ 7.10 tons และเริ่มวัดระยะยืดของลวด

รูปแสดงขั้นตอนการดึงลวดอัดแรงที่ 3

3. เพิ่มแรงดึงลวดไปที่ 75.8% ของ Fpu เท่ากับ 14.20 tons เปรียบเทียบค่า Elongation ที่ได้กับค่าตามทฤษฎี ถ้าอยู่ในช่วงที่ยอมให้ทำการหยุดดึงลวดและใส่ Jaws และ ถ้าค่า Elongation ยังไม่ถึงค่า ให้ทำการเพิ่มแรงดึง

รูปแสดงขั้นตอนการดึงลวดอัดแรงที่ 4

4. เพิ่มแรงดึงลวดไปที่ 77.5% ของ Fpu เท่ากับ 14.53 tons เปรียบเทียบค่า Elongation ที่ได้กับค่าตามทฤษฎี ถ้าอยู่ในช่วงที่ยอมให้ทำการหยุดดึงลวดและใส่ Jaws และ ถ้าค่า Elongation ยังไม่ถึงค่า ให้ทำการเพิ่มแรงดึง

รูปแสดงขั้นตอนการดึงลวดอัดแรงที่ 5

5. เพิ่มแรงดึงลวดไปที่ 80.0% ของ Fpu เท่ากับ 15.0 tons เปรียบเทียบค่า Elongation ที่ได้กับค่าตามทฤษฎี ถ้าอยู่ในช่วงที่ยอมให้ทำการหยุดดึงลวดและใส่ Jaws และ ถ้าค่า Elongation ยังไม่ถึงค่า ให้คลายแรงและดึงใหม่อีกครั้ง กรณีที่ยังไม่ได้ค่า Elongation ให้ดำเนินการใส่ Jaws และบันทึกค่า

รูปแสดงขั้นตอนการดึงลวดอัดแรงที่ 6

6. หลังจากเพิ่มแรงดึงลวดจนได้ค่า Elongation หรือ แรงดึง 80% Fpu ให้ใส่ Jaws แล้ว ให้คลายแรงดึงจนเป็นศูนย์และวัดระยะยืดที่เหลือเพื่อตรวจสอบค่า Anchorage Slip

การอัดน้ำปูน (Stressing Method)
การอัดน้ำปูนมีความสำคัญต่อความทนทานของโครงสร้างคอนกรีตอัดแรงชนิด Bonded System โดยทั่วไปการอัดน้ำปูนจะดำเนินการทันทีไม่มีนั่งร้าน, ค้ำยัน หรือกองวัสดุอยู่ในบริเวณที่จะทำงาน
วัตถุประสงค์ของการอัดน้ำปูน

1. ป้องกันการเกิดสนิมที่ลวดอัดแรง โดยทำการอัดน้ำปูนเข้าไปในท่อ Sheath ให้เต็มช่องว่างที่มีอยู่
2. ทำให้เกิดแรงยึดเหนี่ยวระหว่างลวดอัดแรงกับคอนกรีต

ส่วนผสมของน้ำปูนเกร้าท์

- ปูนซีเมนต์ : ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ Type 1
- น้ำสะอาด : 40-45% ของน้ำหนักปูนซีเมนต์
- ส่วนผสมเพิ่ม : 1% ของน้ำหนักปูนซีเมนต์ (Vitacrete G3)

การทดสอบส่วนผสมของน้ำปูน

- ความสามารถในการไหล (Fluidity) : ไม่น้อยกว่า 11 วินาที
- การเยิ้ม (Breeding) : 2-4% (3 ชม.หลังจากผสมเสร็จเรียบร้อย)
- กำลังอัดของลูกปูน [5x5x5 ซม.] (Compressive Strength) :
- ไม่ต่ำกว่า 175 ksc. ที่ 7 วัน
- ไม่ต่ำกว่า 280 ksc. ที่ 28 วัน

การเตรียมหน้างาน
1. ตัดปลายลวดภายหลังจากได้รับอนุมัติจากวิศวกรควบคุมงาน
2. ทำการอุดปิดเบ้าที่ใช้ดึงด้วยปูนทรายหลังจากทำการตัดปลายลวดอัดแรงแล้ว โดยใช้สัดส่วนผสมของทราย ต่อ ซีเมนต์ (Portland Cement Type I เท่ากับ 2 ต่อ 1)
3. ติดตั้งเครื่องอีดน้ำปูนให้ใกล้สกับบริเวณที่จะทำงาน
4. ความสูงในแนวดิ่งระหว่างเครื่องอัดน้ำปูนกับบริเวณที่ทำงานอัดน้ำปูนไม่เกิน 40 ม.
5. เตรียมวัสดุส่วนผสมของน้ำปูน ซึ่งประกอบด้วยซีเมนต์, น้ำ, สารเคมีผสมเพิ่ม ให้เพียงพอต่อการใช้งานในขณะนั้น และป้องกันไม่ให้เปียกน้ำ หรือฝน
6. ตรวจสอบความพร้อมของเครื่องผสม, ปั๊มอัดน้ำปูน, ปั๊มลม, Pressure Guage และ Valve ต่างๆ
7. ทำการอัดลมเข้าในท่อ Sheath เพื่อไล่น้ำ, วัสดุแปลกปลอมออกจากท่อ และเพื่อใช้ตรวจสอบการอุดตันของท่อด้วย

ขั้นตอนการอัดน้ำปูน
1. ก่อนทำการอัดน้ำปูนในแต่ละกลุ่มลวด ต้องไล่ลมเพื่อตรวจสอบการอุดตันของท่อและไล่เศษผงที่อุดตันออก
2. การอัดน้ำปูนต้องทำโดยไม่เกิดการติดขัด เมื่ออัดน้ำปูนเข้าท่อด้านหนึ่งน้ำปูนก็จะไหลออกมาที่ท่ออัดน้ำปูนอีกด้านหนึ่ง รอจนน้ำปูนที่ไหลออกมามีความเข้มข้นเหมือนกับด้านที่อัดเข้าไปจึงปิดท่อด้านที่น้ำปูนไหลออก
3. ค้างแรงดันไว้ในท่อ สูงสุดไม่เกิน 3 บาร์ เป็นเวลา 1 นาที แล้วจึงพับปิดท่ออัดน้ำปูนด้านที่อัดน้ำปูน เมื่อเรียบร้อยแล้วจึงทำการอัดน้ำปูนท่ออื่นต่อไป
4. เมื่อทำการอัดน้ำปูนไปแล้วอย่างน้อย 24 ชม. จึงสามารถทำการตัดท่อน้ำปูนได้
5. การอัดน้ำปูนต้องไม่มีการติดขัด ถ้าระหว่างการอัดน้ำปูนเกิดการรั่วเล็กน้อยต้องหยุดการอัดน้ำปูน และซ่อมรอยรั่วทันที เมื่อเรียบร้อยแล้วจึงทำการอัดน้ำปูนต่อไป หากว่ามีรอยรั่วมากต้องหยุดการอัดน้ำปูนและไล่น้ำปูนออกให้หมด โดยการอัดน้ำเข้าไปแล้วอัดอากาศเพื่อไล่น้ำจนหมด ซ่อมรอยรั่วเรียบร้อยจึงทำการอัดน้ำปูนใหม่
6. การอัดน้ำปูนจะต้องลงบันทึกข้อมูลลงในแบบฟอร์ม การอัดน้ำปูน (Grouting Report)

Post-Tension โดย SMART2021

บริการปรึกษาเกี่ยวกับ Post-Tension
บริการออกแบบโครงสร้างพื้น Post-Tension
ผลิตและติดตั้ง พื้น Post-Tension
บริการแก้ไขปรับปรุงโครงสร้าง พื้น Post-Tension

ตัวอย่าง SMART Post-Tension

รูปภาพตัวอย่าง 3D SMART Post-Tension
ภาพตัวอย่าง SMART Post-Tension
รูปภาพตัวอย่าง SMART Post-Tension หน้างาน
ภาพตัวอย่าง SMART Post-Tension หน้างาน
รูปภาพตัวอย่าง SMART Post-Tension หน้างาน
ภาพตัวอย่าง SMART Post-Tension หน้างาน

เอกสารเพิ่มเติม

PROJECT REFERENCE

〇 กำลังดำเนินการ

รูปภาพหน้าปกโครงการ Mega Home Rattanathibet

Mega Home Rattanathibet

⬤ ดำเนินการเสร็จสิ้น

รูปภาพหน้าปกโครงการ Cohiba Villas Phuket Plot 7&8

Cohiba Villas Phuket Plot 7&8

⬤ ดำเนินการเสร็จสิ้น

รูปภาพหน้าปกโครงการ The Muve Bangkhae 2

The Muve Bangkhae 2

⬤ ดำเนินการเสร็จสิ้น

รูปภาพหน้าปกโครงการ Etherhome Sea View Rawai

Etherhome Sea View Rawai

⬤ ดำเนินการเสร็จสิ้น

รูปภาพหน้าปกโครงการ The Aqua Phuket

The Aqua Phuket

⬤ ดำเนินการเสร็จสิ้น

รูปภาพหน้าปกโครงการ ECORESORT ชลบุรี

ECORESORT ชลบุรี

⬤ ดำเนินการเสร็จสิ้น

รูปภาพหน้าปกโครงการ Bellevue Beachfront Phuket

Bellevue Beachfront Phuket

〇 กำลังดำเนินการ

รูปภาพหน้าปกโครงการ Adler Condo กรุงเทพมหานคร

Adler Condo กรุงเทพมหานคร

〇 กำลังดำเนินการ

รูปภาพหน้าปกโครงการ Asher Naii สุทธิสาร-สะพานควาย

Asher Naii สุทธิสาร-สะพานควาย

⬤ ดำเนินการเสร็จสิ้น

รูปภาพหน้าปกโครงการ Mgallery Mont Azure Lakeside

Mgallery Mont Azure Lakeside

〇 กำลังดำเนินการ

รูปภาพหน้าปกโครงการ Vega Condo Phuket

Vega Condo Phuket

〇 กำลังดำเนินการ

รูปภาพหน้าปกโครงการ DEEPAL Jin Moter

DEEPAL Jin Moter

ร่วมงานกับเรา

ขณะนี้ยังไม่มีตำแหน่งงานที่เปิดรับ

ติดต่อเรา

Smart2021 Factory

ฝ่ายขาย
เบอร์โทร : 080-395-1414
Email : [email protected]

ที่อยู่
เลขที่ 58/5 หมู่ 3 ตำบล เชียงรากน้อย อำเภอ สามโคก จังหวัด ปทุมธานี 12160